ออฟฟิศซินโดรมปวดตรงไหนบ้าง? เช็กอาการก่อนเรื้อรัง

Image
/

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตของคนวัยทำงานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมนานๆ พิมพ์งานทั้งวัน หรือต้องอยู่ในท่าทางซ้ำๆ โดยไม่มีการขยับร่างกายเลย พฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

แต่รู้ไหมว่า “ออฟฟิศซินโดรมไม่ได้ปวดแค่บริเวณไหล่หรือหลังเท่านั้น” แต่สามารถส่งผลกระทบต่อหลายจุดในร่างกาย ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา อาการอาจลุกลามและกระทบการใช้ชีวิตได้โดยตรง

บทความนี้ Rehab Care Clinic จะพาคุณมาดูกันว่า อาการของออฟฟิศซินโดรมปวดตรงไหนได้บ้าง? พร้อมวิธีสังเกตอาการตัวเองเบื้องต้นก่อนจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง

ออฟฟิศซินโดรมปวดตรงไหนได้บ้าง?

1. ต้นคอ – บ่า – ไหล่

บริเวณที่พบอาการของออฟฟิศซินโดรมได้บ่อยที่สุดคือ ต้นคอ บ่า และไหล่ เพราะการนั่งที่ผิดท่าหรือก้มคอเล่นมือถือ ใช้คอมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเหล่านี้เกิดการหดเกร็งตลอดเวลา

อาการ:

  • ปวดตื้อๆ ที่คอ บ่า หรือไหล่
  • รู้สึกเมื่อยล้าแม้ไม่ได้ใช้ คอ บ่า ไหล่ หนัก
  • บางคนรู้สึกมีอาการชา ร้าวลงแขน

2. สะบัก – กล้ามเนื้อหลังตอนบน

หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่าออฟฟิศซินโดรมสามารถส่งผลกระทบถึงกล้ามเนื้อหลังได้ด้วย โดยเฉพาะบริเวณสะบักและแผ่นหลังส่วนบน

อาการ:

  • ปวดตึงบริเวณสะบัก
  • ตึงหน่วงๆบริเวณแผ่นหลัง
  • เจ็บเวลาหายใจลึก ๆ หรือเวลายืดแขน

3. หลังส่วนล่าง – เอว

นั่งท่าผิดติดต่อกันหลายชั่วโมง เช่น นั่งหลังงอ หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงหลัง พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้ปวดหลังส่วนล่างจนพัฒนาเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้

อาการ:

  • ปวดล้าหรือตึงที่เอว
  • ปวดร้าวลงขาในบางกรณี
  • นั่งนาน ๆ แล้วลุกลำบาก

4. ข้อมือ – แขน – นิ้วมือ

เกิดจากการใช้เมาส์ คีย์บอร์ด หรือถือโทรศัพท์นานๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณปลายแขนและข้อมือทำงานหนักเกินไปจนเกิดอาการอักเสบ

อาการ:

  • ปวดตึงบริเวณข้อมือ
  • ชานิ้วหรือปลายนิ้วมือ
  • มีอาการเหมือน "นิ้วล็อก" ในบางคน

5. ศีรษะ – ดวงตา

แม้ไม่ใช่กล้ามเนื้อโดยตรง แต่อาการออฟฟิศซินโดรมก็สามารถกระทบด้านการมองเห็นและสมาธิ เพราะใช้สายตากับจอคอมนานเกินไป

อาการ:

  • ปวดหัว
  • ตาล้า มองไม่ชัด
  • ปวดเบ้าตา หรือรู้สึกเวียนหัว

ทำไมออฟฟิศซินโดรมถึงควรรีบรักษา?

แม้อาการออฟฟิศซินโดรมจะดูไม่รุนแรงในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ปรับพฤติกรรมหรือเข้ารับการรักษา อาการปวดเรื้อรังอาจลุกลามไปสู่ภาวะที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น

  • เอ็นอักเสบเรื้อรัง
  • หมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • กระดูกทับเส้นประสาท
  • กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับ (Carpal Tunnel Syndrome)

วิธีป้องกันและดูแลอาการเบื้องต้น

  • ควรลุกขึ้นขยับร่างกายทุก 1 ชั่วโมง
  • จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะกับสรีระ (ergonomic)
  • ใช้เก้าอี้ที่รองรับหลังและเอว
  • ฝึกยืดกล้ามเนื้อช่วงต้นคอ ไหล่ และหลังเป็นประจำ
  • เข้ารับการกายภาพบำบัดหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

ออฟฟิศซินโดรมไม่ได้ปวดแค่จุดใดจุดหนึ่ง แต่สามารถส่งผลกระทบได้ทั้งร่างกาย ตั้งแต่คอ ไหล่ หลัง เอว ไปจนถึงข้อมือและดวงตา การสังเกตอาการตั้งแต่เนิ่นๆ และปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันอาการเรื้อรังในระยะยาว หากคุณเริ่มมีอาการปวดเรื้อรังจากการทำงานหน้าคอมหรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน และต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูร่างกาย สามารถเข้ารับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Rehab Care Clinic เพื่อรับแนวทางดูแลและบำบัดที่เหมาะสมกับอาการของคุณค่ะ